วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556


ระบบบรรณาการ : จิ้มก้อง


ภาพวาดอันอลังการของการเข้าเฝ้าออกใหญ่ ณ พระราชวังกรุงปักกิ่งของคณะราชทูตจากสยามประเทศ
ทูลเชิญพระราชสาสน์และเครื่องมงคลราชบรรณาการจากพระเจ้ากรุงสยามไปจิ้มก้องพระเจ้าเฉียนหลง
ในปี ค.ศ. ๑๗๘๑ (พ.ศ. ๒๓๒๔) สันนิษฐานว่าเป็นคณะของพระยาสุนทรอภัย ราชทูตจากสมเด็จพระเจ้า
กรุงธนบุรีซึ่งเดินทางกลับเข้ามา ค.ศ. ๑๗๘๓ เมื่อผลัดแผ่นดินเป็นรัชกาลที่ ๑ แล้ว (ไกรฤกษ์ นานา ประมูล
ภาพนี้กลัีบมาจากปารีส เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ และอนุญาตให้เผยแพร่ได้ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม)

"ระบบบรรณาการ" (Tribute) หรือจิ้นก้อง หรือจิ้มก้อง เป็นประเพณีสัมพันธไมตรีของจีนกับประเทศอื่นๆในสมัยโบราณ เพราะจีนมีความเชื่อมาช้านานตามอิทธิพลทางความคิดของลัทธิขงจื้อว่า "จีนเป็นอาณาจักรกลาง (จงกั้ว หรือ Middle kingdom) เป็นศูนย์กลางอำนาจและ
อารยะธรรมของโลก เนื่องจากมีความเจริญมาช้านาน ดังนั้นจีนจึงมองประเทศอื่นที่อยู่โดยรอบว่าด้อยกว่า และจะต้องยอมสวามิภักดิ์กับจีน โดยการส่งเครื่องบรรณาการแก่จักรพรรดิจีนตามกำหนด ส่วนจีนซึ่งเป็นประเทศที่ใหญ่กว่าและเจริญกว่าจะให้ความช่วยเหลือคุ้มครองประเทศเล็กๆเหล่านี้ อีกทั้งยังให้ประโยชน์ ทั้งทางการเมือง โดยยอมรับฐานะของกษัตริย์ และทางเศรษฐกิจ โดยอนุญาตให้ค้าขายได้อย่างเสรี"

อย่างไรก็ดี ผู้นำของไทยมิได้ยอมรับตามคติของจีน ไทยมิได้หวาดกลัวว่าจีนจะคุกคาม เนื่องจากจีนอยู่ห่างไกลและไม่เคยคุกคามความมั่นคงของไทยเลย ไทยส่งคณะทูตพร้อมด้วย
พระราชสาสน์และของกำนัล หรือเครื่องบรรณาการก็เพื่อขอความสะดวกในการค้าขาย
พระราชสาสน์นของกษัตริย์ก็เป็นการแสดงสันถวไมตรี มิได้อ่อนน้อมยอมเป็นเมืองขึ้น ส่วนเครื่องบรรณาการที่ส่งไปด้วยก็เพื่อแสดงไมตรีจิตร และเพื่อเป็นไปตามความต้องการของจีนตามประเพณีดั้งเดิมของจีน

"ระบบบรรณาการเพื่อการค้า" ได้ลดความสำคัญและประโยชน์ลง ในปลายรัชกาลที่4 ไทยทำการค้ากับตะวันตกมากขึ้นหลังจากสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษในปีค.ศ.1855 ในขณะที่กำไรจากการค้าสำเภาจีนลดลงตามลำดับ ทั้งนี้เพราะความไม่ปลอดภัยในการเดินทาง เนื่องจากจักรพรรดิราชวงศ์ชิงระยะหลังอ่อนแอ อีกทั้งเผชิญกับปัญหาการต่อต้านจากภายในและการท้าทายคุกคามจากภายนอก
 


ภาพวาดราชทูตไทยถวายงาช้างต่อพระเจ้ากรุงปักกิ่งเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ตามธรรมเนียมจิ้มก้อง


ประวัติระบบบรรณาการเพื่อการค้า
สมัยสุโขทัย   ได้ส่งคณะทูตพร้อมของพื้นเมืองถวายเป็นกำนัลแก่จักรพรรดิราชวงศ์หยวนในจีน รวม 14 ครั้ง ระหว่างปีค.ศ.1292 - 1322 (30ปี) ส่วนจีนสมัยราชวงศ์หยวนส่งทูตมายังสุโขทัย ครั้ง แต่มาถึงเพียง ครั้ง
สมัยอยุธยา    หลังจากสมัยพระบรมราชาธิราชที่ ส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีเพื่อค้าขายกับจีน ประมาณ 130 ครั้ง ในระยะเวลาเกือบ 400 ปี ระหว่างปีค.ศ.1371-1766 ส่วนจีนในสมัยราชวงศ์หมิงและชิงส่งทูตมาอยุธยา ประมาณ 17 ครั้ง
สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์สี่รัชกาลแรก     ไทยส่งทูตไปจีนรวม 56 ครั้ง จนถึงปีค.ศ.1953 เป็นปีสุดท้ายของการส่งบรรณาการเพื่อการค้า นับเป็นการสิ้นสุดความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนในสมัยโบราณภายใต้ระบบ "บรรณาการเพื่อการค้า" สาเหตุที่ยุติเพราะรัชกาลที่ไม่ประสงค์จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดในหมู่ประเทศที่ติดต่อกับไทย อีกทั้งประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ไทยได้รับก็ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เนื่องจากความไม่ปลอดภัยจากการเดินทาง



นางสาวขวัญฐิติ  บรรเทา ม.5/835  เลขที่  1

1 ความคิดเห็น:

  1. The 7 best ways to play slots and more - Dr.MCD
    We're going 광주광역 출장안마 to cover all this, from 부천 출장안마 our favourite 수원 출장안마 games to the latest progressive jackpots. But first, 대전광역 출장안마 let's just say we're going to be 안양 출장안마 taking a closer look at the

    ตอบลบ