วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556


ระบบบรรณาการ : จิ้มก้อง


ภาพวาดอันอลังการของการเข้าเฝ้าออกใหญ่ ณ พระราชวังกรุงปักกิ่งของคณะราชทูตจากสยามประเทศ
ทูลเชิญพระราชสาสน์และเครื่องมงคลราชบรรณาการจากพระเจ้ากรุงสยามไปจิ้มก้องพระเจ้าเฉียนหลง
ในปี ค.ศ. ๑๗๘๑ (พ.ศ. ๒๓๒๔) สันนิษฐานว่าเป็นคณะของพระยาสุนทรอภัย ราชทูตจากสมเด็จพระเจ้า
กรุงธนบุรีซึ่งเดินทางกลับเข้ามา ค.ศ. ๑๗๘๓ เมื่อผลัดแผ่นดินเป็นรัชกาลที่ ๑ แล้ว (ไกรฤกษ์ นานา ประมูล
ภาพนี้กลัีบมาจากปารีส เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ และอนุญาตให้เผยแพร่ได้ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม)

"ระบบบรรณาการ" (Tribute) หรือจิ้นก้อง หรือจิ้มก้อง เป็นประเพณีสัมพันธไมตรีของจีนกับประเทศอื่นๆในสมัยโบราณ เพราะจีนมีความเชื่อมาช้านานตามอิทธิพลทางความคิดของลัทธิขงจื้อว่า "จีนเป็นอาณาจักรกลาง (จงกั้ว หรือ Middle kingdom) เป็นศูนย์กลางอำนาจและ
อารยะธรรมของโลก เนื่องจากมีความเจริญมาช้านาน ดังนั้นจีนจึงมองประเทศอื่นที่อยู่โดยรอบว่าด้อยกว่า และจะต้องยอมสวามิภักดิ์กับจีน โดยการส่งเครื่องบรรณาการแก่จักรพรรดิจีนตามกำหนด ส่วนจีนซึ่งเป็นประเทศที่ใหญ่กว่าและเจริญกว่าจะให้ความช่วยเหลือคุ้มครองประเทศเล็กๆเหล่านี้ อีกทั้งยังให้ประโยชน์ ทั้งทางการเมือง โดยยอมรับฐานะของกษัตริย์ และทางเศรษฐกิจ โดยอนุญาตให้ค้าขายได้อย่างเสรี"

อย่างไรก็ดี ผู้นำของไทยมิได้ยอมรับตามคติของจีน ไทยมิได้หวาดกลัวว่าจีนจะคุกคาม เนื่องจากจีนอยู่ห่างไกลและไม่เคยคุกคามความมั่นคงของไทยเลย ไทยส่งคณะทูตพร้อมด้วย
พระราชสาสน์และของกำนัล หรือเครื่องบรรณาการก็เพื่อขอความสะดวกในการค้าขาย
พระราชสาสน์นของกษัตริย์ก็เป็นการแสดงสันถวไมตรี มิได้อ่อนน้อมยอมเป็นเมืองขึ้น ส่วนเครื่องบรรณาการที่ส่งไปด้วยก็เพื่อแสดงไมตรีจิตร และเพื่อเป็นไปตามความต้องการของจีนตามประเพณีดั้งเดิมของจีน

"ระบบบรรณาการเพื่อการค้า" ได้ลดความสำคัญและประโยชน์ลง ในปลายรัชกาลที่4 ไทยทำการค้ากับตะวันตกมากขึ้นหลังจากสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษในปีค.ศ.1855 ในขณะที่กำไรจากการค้าสำเภาจีนลดลงตามลำดับ ทั้งนี้เพราะความไม่ปลอดภัยในการเดินทาง เนื่องจากจักรพรรดิราชวงศ์ชิงระยะหลังอ่อนแอ อีกทั้งเผชิญกับปัญหาการต่อต้านจากภายในและการท้าทายคุกคามจากภายนอก
 


ภาพวาดราชทูตไทยถวายงาช้างต่อพระเจ้ากรุงปักกิ่งเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ตามธรรมเนียมจิ้มก้อง


ประวัติระบบบรรณาการเพื่อการค้า
สมัยสุโขทัย   ได้ส่งคณะทูตพร้อมของพื้นเมืองถวายเป็นกำนัลแก่จักรพรรดิราชวงศ์หยวนในจีน รวม 14 ครั้ง ระหว่างปีค.ศ.1292 - 1322 (30ปี) ส่วนจีนสมัยราชวงศ์หยวนส่งทูตมายังสุโขทัย ครั้ง แต่มาถึงเพียง ครั้ง
สมัยอยุธยา    หลังจากสมัยพระบรมราชาธิราชที่ ส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีเพื่อค้าขายกับจีน ประมาณ 130 ครั้ง ในระยะเวลาเกือบ 400 ปี ระหว่างปีค.ศ.1371-1766 ส่วนจีนในสมัยราชวงศ์หมิงและชิงส่งทูตมาอยุธยา ประมาณ 17 ครั้ง
สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์สี่รัชกาลแรก     ไทยส่งทูตไปจีนรวม 56 ครั้ง จนถึงปีค.ศ.1953 เป็นปีสุดท้ายของการส่งบรรณาการเพื่อการค้า นับเป็นการสิ้นสุดความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนในสมัยโบราณภายใต้ระบบ "บรรณาการเพื่อการค้า" สาเหตุที่ยุติเพราะรัชกาลที่ไม่ประสงค์จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดในหมู่ประเทศที่ติดต่อกับไทย อีกทั้งประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ไทยได้รับก็ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เนื่องจากความไม่ปลอดภัยจากการเดินทาง



นางสาวขวัญฐิติ  บรรเทา ม.5/835  เลขที่  1